เครื่องมือสำรวจ
เครื่องมือสำรวจ
1.MX2
2.PX80
3.DRONE
MX2
MX2 Service
- Mobile Mapping Survey
- GIS Asset Management to 2D/3D
- Image 360°
ระบบ Trimble MX2 เป็นระบบวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงพื้นที่ ที่ติดตั้งบนยานพาหนะ โดยระบบนี้จะประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพ 360 องศา ที่ทำงานร่วมกับ เลเซอร์ความละเอียดสูง ที่ให้ตัว PointClouds ที่ให้ค่าตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ที่ถูกต้อง และแม่นยำ เหมาะแก่การนำไปใช้งานในด้านการวิเคราะห์และประเมินเชิงพื้นที่ สามารถติดตั้งได้กับยานพาหนะทุกขนาด ทำให้การสำรวจมีความสะดวกและรวดเร็ว ลดระยะเวลางานเก็บข้อมูลภาคสนาม
PX80
Paracosm’s PX 80 เป็นเลเซอร์สแกนเนอร์ แบบ Handheld โดยสามารถเดินสแกนรอบ ๆวัตถุที่ต้องการอย่างรวดเร็วกว่าเลเซอร์สแกนแบบตั้งพื้น Terrestrial Laser Scanner (TLS.) หลังจากสแกนแล้ว จะได้ Point Cloud จะมีลักษณะเป็นจุดๆ ซึ่งลอยอยู่รอบๆบริเวณที่ได้ทำการสแกนด้วยเลเซอร์ซึ่งจะเป็นกลุ่มของจุดสามมิติ เก็บค่าของตำแหน่งของขอบวัตถุในพิกัด X,Y,Z (ตัวอย่าง นามสกุล .LAS,.PLY, .retrace) ซึ่งสามารนำไปใช้ในการทำงานตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของงานต้องการ
Innovative
SLAM-based(Self Localization and Mapping) คือ การระบุตำแหน่งพร้อมกับการสร้างแผนที่ สามารถรับรู้ได้ว่าตัวเองกำลังเดินไปทางไหน
color imagery ได้ point cloud เป็น True color
IMU(Inertial Measurement Unit) data หน่วยตรวจวัดความเคลื่อนไหวภายใน ค่า Yaw Pitch Roll ค่อยปรับความเคลื่อนไหว ความเอียง
Point Cloud จาก PX-80 Laser Scan นำมาใช้ประโยชน์
- ในการสำรวจเพื่อการปรับปรุงอาคาร
- เพื่อเก็บข้อมูลสภาพปัจจุบัน หรือเก็บไว้เพื่อการอนุรักษ์
- ใช้สำหรับการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้าง
- สร้าง Model 3D
- โดยการนำมาข้อมูล Point Cloud ที่สแกนจากหน้างานก่อสร้าง มาสวมผนวกกับโมเดลที่สร้างขึ้นในคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการตรวจสอบความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ออกแบบไว้ และสิ่งที่สร้างขึ้นว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยอย่างไร
การใช้อากาศยานไร้คนขับทำแผนที่ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV)
ปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับถูกนำมาใช้ในงานสำรวจและทำแผนที่มากขึ้น เนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานสะดวก สามารถลดระยะเวลาการทำงาน ลดต้นทุน ข้อมูลมีความละเอียดระดับเซนติเมตรและมีความน่าเชื่อถือ ด้วยการใช้เครื่องมือรังวัดตำแหน่งดาวเทียมในการรังวัดตำแหน่งควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Control Point) ปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับถูกนำมาใช้ในงานสำรวจและทำแผนที่มากขึ้น เนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานสะดวก สามารถลดระยะเวลาการทำงาน ลดต้นทุน ข้อมูลมีความละเอียดระดับเซนติเมตรและมีความน่าเชื่อถือ ด้วยการใช้เครื่องมือรังวัดตำแหน่งดาวเทียมในการรังวัดตำแหน่งควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Control Point)
ประเภทของอากาศยานไร้คนขับที่นิยมใช้กันอยู่ ได้แก่
1.อากาศยานไร้คนขับแบบปีกตรึง (Fixed-Wing)
2.อากาศยานไร้คนขับแบบหลายใบพัด (Multi-Rotor)
3.อากาศยานไร้คนขับแบบปีกตรึงขึ้นลงแนวดิ่ง (Vertical take-off and landing)
โดยอากาศยานไร้คนขับแต่ละประเภทมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของงาน
การสำรวจและทำแผนที่ด้วยอากาศยานไร้คนขับมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ
1.ส่วนงานสำรวจ ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับและอุปกรณ์รังวัดตำแหน่งดาวเทียม
2.ส่วนงานข้อมูลและการประมวลผล
การใช้ข้อมูลจากอากาศยานไร้คนขับในงานด้านต่าง ๆ
1.งานทำแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map)
2.งานทำแผนที่เหมืองและการคำนวณปริมาตรกองวัสดุ (Mine and Stockpile computation)
3. การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ (3D Model) เป็นต้น
28 กันยายน 2566
ผู้ชม 8046 ครั้ง